ผู้เขียน หัวข้อ: ตรวจอาการเบื้องต้น: มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemias)  (อ่าน 1020 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 191
    • ดูรายละเอียด
ตรวจอาการเบื้องต้น: มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemias)
« เมื่อ: วันที่ 29 สิงหาคม 2023, 00:33:41 น. »
มะเร็งเม็ดเลือดขาว (ลิวคีเมีย ก็เรียก) หมายถึง มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาววัยอ่อนในไขกระดูกมีการเจริญแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ และกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ (ไม่สามารถเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวตัวแก่ที่ทำหน้าที่แบบเม็ดเลือดขาวปกติ และมีการแก่ตัวและเซลล์ตายช้ากว่าปกติ) สามารถแพร่กระจายแทรกซึมไปอยู่ตามอวัยวะต่าง ๆ เช่น ต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้าม กระดูก สมอง อัณฑะ ผิวหนัง รวมทั้งแทรกซึมในไขกระดูก ทำลายกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในไขกระดูก ก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ จนเป็นอันตรายถึงเสียชีวิตได้

มะเร็งเม็ดเลือดขาวมีอยู่หลายชนิด โดยหลัก ๆ แบ่งเป็น ชนิดเฉียบพลัน ซึ่งเกิดจากเซลล์วัยอ่อน (blast cell) มีอาการเกิดขึ้นฉับพลัน ลุกลามรวดเร็วและรุนแรง และชนิดเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เริ่มเป็นตัวแก่ ลุกลามช้า และมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป

หากแบ่งตามชนิดของเซลล์ต้นกำเนิดของโรค สามารถแบ่งเป็นเซลล์ที่จะเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (lymphocyte) และเซลล์ที่จะเจริญเป็นเม็ดเลือดขาวชนิดอื่น รวมทั้งเม็ดเลือดแดงและเกล็ดเลือด (myeloid cell/myelocyte)

มะเร็งเม็ดเลือดขาวจึงแบ่งเป็น 4 ชนิดใหญ่ ๆ  ได้แก่ acute lymphocytic (lymphoblastic) leukemia (ALL), acute myelogenous (myeloblastic) leukemia (AML), chronic lymphocytic leukemia (CLL) และ chronic myelocytic (myelogenous) leukemia (CML)

ทุกชนิดพบได้ในคนทุกวัย แต่อาจพบมากในเด็กหรือผู้ใหญ่แตกต่างกันดังนี้

    ชนิด ALL พบมากในเด็กอายุ 2-5 ปี (พบได้ถึงร้อยละ 80 ของมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก) อาจพบในผู้ใหญ่โดยเฉพาะอย่างยิ่งอายุมากกว่า 65 ปี
    ชนิด AML เป็นมะเร็งเม็ดเลือดที่พบได้มากที่สุด พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก
    ชนิด CLL พบบ่อยในผู้ใหญ่ และมีความชุกของโรคมากขึ้นตามอายุ พบมากในกลุ่มอายุมากกว่า 60 ปี
    ชนิด CML เป็นชนิดที่พบได้น้อย พบบ่อยในผู้ใหญ่อายุ 40-60 ปี พบได้น้อยในเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี

สาเหตุ
ส่วนใหญ่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด เชื่อว่ามีปัจจัยทางกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติร่วมกับปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม

ผู้ป่วยส่วนหนึ่งอาจพบว่ามีปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น

    การมีกรรมพันธุ์ที่ผิดปกติ เช่น พบว่าผู้ที่เป็นกลุ่มอาการดาวน์ (Down’s syndrome) มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL และ AML มากกว่าคนปกติ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด CML พบว่ามีโครโมโซมผิดปกติ (เรียกว่า Philadelphia chromosome) หรือผู้ที่มีพ่อแม่พี่น้องเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด ALL ก็อาจเป็นโรคนี้ร่วมด้วย
    ผู้ที่มีประวัติได้รับรังสีบำบัดหรือเคมีบำบัดมะเร็งชนิดอื่นมาก่อน บางรายก็อาจพบว่าเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเวลาหลายปีต่อมา
    ผู้ที่มีประวัติสัมผัสรังสีนิวเคลียร์ (เช่น ผู้รอดชีวิตจากระเบิดปรมาณูหรืออุบัติเหตุจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์) หรือสารเบนซิน ก็พบว่ามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้สูงกว่าคนทั่วไป
    การสูบบุหรี่ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด AML
    ผู้ที่มีประวัติมะเร็งเม็ดเลือดขาวในครอบครัวมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มากกว่าปกติ

อาการ
มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (ALL และ AML) มักมีอาการเกิดขึ้นฉับพลันด้วยอาการไข้ ซีดหรือมีจ้ำเขียวพรายย้ำขึ้นตามตัว หรือมีเลือดออกตามที่ต่าง ๆ เช่น เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟัน ประจำเดือนออกมากผิดปกติ ถ่ายเป็นเลือด

บางรายอาจมีอาการไข้ ปวดเมื่อย คล้ายไข้หวัดใหญ่ อ่อนเพลีย น้ำหนักลด อาจเป็นไข้เรื้อรังเป็นแรมเดือน หรืออาการหนาวสั่น มีแผลเปื่อยในปาก ทอนซิลอักเสบ หรือปอดอักเสบเนื่องจากภูมิคุ้มกันต่ำ

ตรวจอาการเบื้องต้น: มะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemias) อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/symptom-checker