ผู้เขียน หัวข้อ: การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบ บี  (อ่าน 19 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 187
    • ดูรายละเอียด
การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบ บี
« เมื่อ: วันที่ 3 ตุลาคม 2024, 16:16:39 น. »
การป้องกัน ไวรัสตับอักเสบ บี

วิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงและป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี ได้แก่

    รับวัคซีนป้องกัน การรับวัคซีนป้องกันสามารถช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบ บี รวมไปถึงโรคอันตรายต่าง ๆ ที่อาจตามมาหลังการติดเชื้อ เช่น มะเร็งตับและตับแข็ง ซึ่งการได้รับวัคซีนจะช่วยให้มีภูมิต้านทานในระยะยาวหรืออาจถึงตลอดชีวิตได้
        ในเด็ก ปกติควรได้รับวัคซีนตับอักเสบ บี 3 เข็ม เข็มที่ 1 เมื่อแรกเกิด เข็มที่ 2 เมื่ออายุ 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 เมื่ออายุ 6-18 เดือน
        วัยรุ่นและผู้ใหญ่ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนนั้นมีความเสี่ยงจะได้รับเชื้อ ควรได้รับวัคซีนด้วย
    ป้องกันทุกครั้งที่จะมีเพศสัมพันธ์ เช่น การสวมถุงยางอนามัย
    ระมัดระวังตัวเองเมื่อต้องใช้ชีวิตร่วมกับผู้ที่เป็นพาหะ
    ใส่ถุงมือเวลาที่ต้องสัมผัส หรือต้องทำความสะอาดสารคัดหลั่งจากร่างกาย เช่น ผ้าพันแผล ผ้าอนามัย หรือเสื้อผ้า
    ควรปิดบาดแผลที่ได้รับบาดเจ็บให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้นได้ หรือในผู้ที่เป็นพาหะ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่ไปสู่ผู้อื่น
    ไม่ควรใช้มีดโกน แปรงสีฟัน ที่ตัดเล็บ หรือต่างหู ร่วมกับผู้อื่น เพราะมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อได้ง่าย
    ระมัดระวังหากจะเจาะหู หรือสักลาย ต้องแน่ใจว่าอุปกรณ์ที่ทางร้านใช้สะอาด ฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง มีความปลอดภัยและเชื่อถือได้

หากพบว่าตัวเองมีโอกาสได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพราะการได้รับการรักษาป้องกันอย่างทันท่วงทีภายใน 24 ชั่วโมงจะช่วยลดความเสี่ยงของในการติดเชื้อและอาการอื่น ๆ ที่ตามมาได้


การวินิจฉัย ไวรัสตับอักเสบ บี

การวินิจฉัยที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองเบื้องต้น คือการสังเกตอาการและสัญญาณต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นของร่างกายตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้น

ในกรณีที่มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นไวรัสตับอักเสบ บี จากการปรึกษาแพทย์ และมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรค แพทย์จะสามารถทำการวินิจฉัยได้ คือ

-    ตรวจเลือด แพทย์จะพิจารณาให้มีการตรวจเลือดหาค่าการทำงานของตับ ซึ่งการตรวจเลือดทำให้บ่งชี้ได้ว่ามีไวรัสตับอักเสบชนิดนี้อยู่หรือไม่ และทำให้รู้ได้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บี ระยะเฉียบพลันหรือระยะเรื้อรัง

-    ตรวจชิ้นเนื้อตับ (Liver Biopsy) วิธีนี้จะใช้เฉพาะในผู้ป่วยระยะเรื้อรังที่ต้องดูความเป็นไปของโรค โดยแพทย์จะใช้เข็มแทงผ่านเข้าไปทางผิวหนังเพื่อเก็บชิ้นเนื้อจากตับเพื่อนำไปตรวจวิเคราะห์ว่าตับได้ถูกทำลายหรือไม่